การตั้งชื่ออำเภอในภาคอีสาน ชื่อแสนไพเราะมาจากไหน

ชื่อเรื่อง ชื่ออำเภอในภาคอีสานคือไพเราะมาก ทำไมเป็นอย่างนั้น  เคยไปส่งลูกที่สถานีรถทัวร์ เวลาเจ้าหน้าที่ประกาศแจ้งลูกค้าว่า ใครจะเดินทางไปอำเภอเหล่านี้  เช่น เมยวดี เสลภูมิ พนมไพร เกษตรวิสัย ซื้อตั๋วได้ที่ช่องหมายเลข ……… คือ ชื่ออำเภอไพเราะมาก อ่านในทวิตเตอร์ มีคนอื่นที่คิดอย่างนี้เหมือนกัน พี่ลาเต้ เว็บเด็กดี ถึงกับยกตัวอย่างชื่ออำเภอในภาคอีสานมาให้อ่านกัน เช่น -อากาศอำนวย -อุทุมพรพิสัย -ภูผาม่าน -ชานุมาน -สว่างแดนดิน -เรณูนคร -วานรนิวาส -พิบูลมังสาหาร -ลำปลายมาศ -ละหานทราย พี่ลาเต้ เว็บเด็กดี ยกตัวอย่างมาหลายชื่อ มีสองชื่อที่อยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ คือ ลำปลายมาศ กับ ละหานทราย  ลำปลายมาศ เราไปบ่อย เพราะว่าบ้านของลุง พี่ชายของแม่อยู่ที่นั่น ลำปลายมาศเป็น 1 ใน 4 อำเภอที่มีรถไฟผ่านด้วยนะ และมีลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูลไหลผ่าน ชื่อว่า ลำมาศ  นอกจากนั้น ชื่ออำเภอของบางจังหวัด ไพเราะยกทีมไปเลย อย่างเช่น…

นกกระจอก ชื่อนี้มีที่มาอย่างไร

นกกระจอก เคยมีเด็ก ๆ ถามว่า ทำไมชื่อนกกระจอก เป็นนกยากจนเหรอ ถึงได้ชื่อว่านกกระจอก เด็ก ๆ ชื่อนกไปเชื่อมโยงกับอีกความหนึ่งของคำว่ากระจอก วันนี้ตรวจงานของนักศึกษา ทำคลิปวิดีโอนำเสนอเกี่ยวกับนกกระจอก นักศึกษาค้นหาที่มาของชื่อนกชนิดนี้ด้วย ดูคลิปที่ https://www.facebook.com/groups/732582701822365/permalink/735420354871933/ นักศึกษาลืมใส่ลิ้งก์แหล่งที่มา (References) ตามประสามือใหม่ ได้เนื้อหา ลืมอ้างอิง ได้อ้างอิง ลืมหลักการพูด อาจารย์ต้องไปค้นหาข้อมูลมาเพิ่มเติมให้ สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า นกกระจอก แต่เดิม ชื่อ นกจอก แต่มีแทรกเสียง อะ ระหว่างคำว่า นก กับ จอก จึงออกเสียงเป็น นกกะจอก ภายหลังเติม ร ลงไป จึงเป็น นกกระจอก นอกจากนั้น ยังมีคำอื่น ๆ ที่แทรกเสียง อะ เช่น ตุ๊กตา ออกเสียงเป็น ตุ๊ก กะ ตา คำว่า ตกใจ…

กลวิธีการใช้สำนวน

หลายคนอาจจะสงสัย เราใช้สำนวนไปทำไมกันนะ งานวิจัยเรื่อง กลวิธีการใช้ภาษาและภาพสะท้อนสังคมในวรรณกรรมบันเทิงของมงกุฎ อรดี วิจัยโดย ชัยวัฒน์ ไชยสุข และ สมเกียรติ รักษ์มณี ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ในงานวิจัยนี้ ใช้เกณฑ์การวิเคราะห์กลวิธีการใช้สำนวน 4 ชนิด ได้แก่ การใช้สำนวนเพื่อย่นย่อความ การสำนวนเพื่อขยายความเข้าใจ การใช้สำนวนเพื่อแทนถ้อยคำที่ไม่ต้องการกล่าวตรง ๆ และการใช้สำนวนเพื่อเพิ่มความสละสลวยของถ้อยคำ ตัวอย่าง การใช้สำนวนเพื่อย่นย่อความ มีนาไม่แน่ใจว่ารอนจเนึกคิดเกี่ยวกับตัวเธออย่างไร ผู้หญิงคนหนึ่งที่มีคู่หมั้นแล้ว แต่มาเดินอยู่กับชายอีกคนหนึ่ง ซึ่งไม่เคยรู้ หัวนอนปลายเท้า เลย ตัวอย่าง การใช้สำนวยเพื่อเพิ่มความสละสลวยของถ้อยคำ คุณเป็นคนใจดีเหลือเกิน คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้หรอกค่ะ ขอให้สวยและร่ำรวย กลวิธีการใช้สำนวนช่วยให้เข้าใจความหมายของเรื่องราวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรืออาจจะช่วยลดถ้อยคำที่ต้องการอธิบาย ถ้อยคำสำนวนมักสะท้อนสังคมไทย วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ในยุคสมัยนั้น

สำนวนไทยในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ปี 2542

การใช้ภาษาไทยในแวดวงสื่อมวลชน มีสีสัน เร้าใจ น่าติดตาม ส่วนหนึ่งมาจากการใช้สำนวน ทำให้ลีลาการใช้ภาษาเพื่อถ่ายทอดคมาคิด ความรู้สึก มีเอกลักษณ์ น่าสนใจ รศ.ดร. สิริวรรณ นันทจันทูล อาจารย์ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สอนในระดับบัณฑิตศึกษา รายวิชา ภาษาไทยในสื่อมวลชน ได้ทำวิจัยเรื่อง การศึกษาการใช้สำนวนไทยในบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์เพื่อประกอบการเรียนการสอน : กรณีศึกษาหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ พบการใช้สำนวนไทย ดังนี้ สำนวนคำคล้องจอง เช่น คอขาดบาดตาย จับได้ไล่ทัน ไว้เนื้อเชื่อใจ สำนวนคำซ้ำ เช่น ถอนรากถอนโคน ร่วมมือร่วมใจ ไม่รู้ร้อนรู้หนาว สำนวนพูดเปรียบเทียบ เช่น ไข่ในหิน มือระเบิด น้ำผึ้งหยดเดียว สำนวน คำ กลุ่มคำ และประโยค เช่น ซื้อเสียง กวนเมือง ใจป้ำ ความเข้าใจภาษาไทยในหนังสือพิมพ์ขึ้นอยู่กับ บริบทของภาษา การตีความ ความรู้ และประสบการณ์ ส่งผลให้การตีความหมายอาจจะคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากบริบทการใช้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

สำนวนในเพลงไทยสากล ช่วงปี 2542-2546

สำนวนปรากฏทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษาในแวดวงสื่อมวลชน การใช้ภาษาในแวดวงโฆษณา รวมถึงการใช้ภาษาในแวดวงเพลง ทั้งเพลงลูกทุ่งและเพลงไทยสากล สารนิพนธ์ของ ศิวิไล ชูวิจิตร เรื่อง การวิเคราะห์การใช้ภาษาในเพลงไทยสากลของบริษัท อาร์.เอส.โปรโมชั่น 1992 จำกัด ช่วงปี พ.ศ. 2542-2546 ศึกษาจากเพลง 127 เพลง พบการใช้สำนวน 4 ประเภท 1 การใช้สำนวนเดิม เช่น น้ำตาตกใน (เพลงโธ่เอ๊ย บาซู) เต้นแร้งเต้นกา (เพลงโต้รุ่ง อาร์ม ศิริโรจน์ ศิริเจริญ) เลือดเย็น (เพลงทำไมไม่ทำให้ตาย ไฮร็อค) 2 การใช้สำนวนใหม่โดยเปลี่ยนแปลงสำนวนเดิม เช่น งมเข็มในทะเล (เพลงงมเข็มในทะเล โดม ปกรณ์ ลัม) ดัดแปลงจากงมเข็มในมหาสมุทร สะพานไม่ทอดข้ามไป (เพลงตบมือข้างเดียว ปาน ธนพร) ดัดแปลงจาก ทอดสะพาน 3 การใช้สำนวนที่สร้างขึ้นใหม่ เช่น ย้อนศร…