อนุญาต เขียนแตกต่างจาก ญาติพี่น้อง คำที่มักเขียนผิด

คำในภาษาไทยมีคำที่คล้ายคลึงกันมากมาย แต่เขียนแตกต่างกัน จนคนสับสนวุ่นวาย มักสะกดผิดบ่อย ๆ เช่น คำว่า อนุญาต มักสะกดผิดเป็น อนุญาติ ใครสะกดผิดบ้าง ยกมือขึ้น  คำว่า อนุญาต คล้ายคลึงกับคำว่า ญาติพี่น้อง ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงคิดว่า น่าจะสะกดเหมือนกัน เลยใช้คำว่า ญาติพี่น้องเป็นแนวเทียบการสะกดคำว่า อนุญาต นั่นเอง  อนุญาต อ่านว่า อะ – นุ – ยาด มาจากคำในภาษาบาลี  อนุญฺาต หมายถึง ก. ยินยอม, ยอมให้, ตกลง (พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2554) https://dictionary.orst.go.th  ญาติ อ่านว่า ยาด, ยา-ติ, ยาด-ติ  มาจากคำในภาษาบาลี ญาติ หมายถึง  น. คนในวงศ์วานที่ยังนับรู้กันได้ทางเชื้อสายฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่  ลูกคำของ “ญาติ, ญาติ-” คือ  …

อาชีพสำหรับคนชอบอ่านหนังสือบันเทิง การ์ตูน นิยาย และเรื่องสั้น

สัปดาห์ก่อนบรรยายในชั้นเรียน เรื่อง การอ่านเพื่อความบันเทิง ปิดท้ายการบรรยายด้วยหัวข้อ อาชีพสำหรับคนชอบอ่านหนังสือบันเทิง การ์ตูน นิยาย และเรื่องสั้น เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนรุ่นใหม่ ทำเรื่องเล่นให้เป็นงาน เบื้องหลังเรื่องเล่น ๆ นั้น มีคนอื่นที่ทำงานอย่างจริงจัง ทำเป็นอาชีพหลัก มีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ดีไม่แพ้งานอื่น ๆ มาดูกันว่ามีอาชีพอะไรบ้าง 1 นักเขียน นักเขียนการ์ตูน นักเขียนนิยาย นักเขียนเรื่องสั้น 2 นักแปล แปลการ์ตูน แปลนิยาย แปลเรื่องสั้น 3 นักวาดรูปประกอบ วาดรูปประกอบการ์ตูน วาดรูปประกอบนิยาย 4 นักออกแบบปก ออกแบบปกการ์ตูน ออกแบบปกนิยาย ออกแบบปกรวมเรื่องสั้น 5 แมวมองหนังสือ เสาะแสวงหาต้นฉบับหนังสือการ์ตูน ต้นฉบับนิยาย ต้นฉบับเรื่องสั้นมาตีพิมพ์ วัน ๆ แมวมองหนังสือท่องไปตามเว็บไซต์อ่านนิยายฟรี มองหาเพชรเม็ดงามท่ามกลางมือใหม่มากมาย 6 นักพิสูจน์อักษร อ่านต้นฉบับตรวจหาคำสะกดผิด เว้นวรรคผิด ถ้อยคำไม่สละสลวย 7 สำนักพิมพ์ รับจัดพิมพ์การ์ตูน นิยาย…

แอปสร้างรายได้จากงานเขียน

มีแอปมากมายสำหรับนักเขียนฝึกหัด ทุกคนฝึกฝนการเขียนเล่าเรื่องต่าง ๆ ได้ และมีคนอ่านคอยติชม ดังนั้นนักเขียนฝึกหัดจึงเติบโตบนสนามจริง ค่อย ๆ ฝึกกันไป แอปสร้างรายได้สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ หน้าเก่า 1 joylada นิยายที่เขียนเหมือนคุยแชทกับเพื่อน คนอ่านรู้สึกเหมือนแอบอ่านแชทหลุด นิยมมากในกลุ่มวัยรุ่น วันไหน joylada ล่ม ติดแฮชแท็กบน Twitter ทันที 2 tunwalai แอปอ่านและเขียนนิยาย เขียนเป็นตอน ๆ เปิดสร้างรายได้เป็นตอนเลยค่ะ เขียนจบค่อยนำไปรวมเล่ม ขายเป็น ebook หรือหนังสือทำมือ ตามสะดวก 3 storylog แอปอ่านและเขียนเล่าเรื่องต่าง ๆ เล่าเรื่องจากประสบการณ์ ดราม่า เฮฮา ความรู้ ความคิด แรงบันดาลใจ ทุกสาขาอาชีพมีเรื่องเล่า 4 fictionlog แอปอ่านนิยาย เขียนต้องเข้าเว็บไซต์ค่ะ 5 Readawrite แอปอ่านและเขียน ทั้งเขียนนิยายและบทความทั่วไป 6 Blockdit แอปอ่านและเขียนเรื่องทั่วไป…

หลักการใช้ ฎ และ ฏ เทคนิคการจำง่าย ๆ

นักศึกษาถามในชั้นเรียนว่า มีเทคนิคการจำง่าย ๆ เกี่ยวกับการใช้ ฎ และ ฏ หรือไม่ เพราะสับสนเหลือเกิน คำว่าปรากฏ ใช้ ฎ ชฏา หรือใช้ ฏ ปฏัก เป็นตัวสะกด คิดว่าคนอื่น ๆ คงสับสนเช่นเดียวกัน จึงไปค้นหาข้อมูลมา และหาเทคนิคการจำง่าย ๆ การใช้ ฏ ปฎัก เป็นตัวสะกด จากการค้นหาข้อมูลการใช้ ฎ และ ฏ ในพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ. 2554 พบว่า ฏ ปฏัก ใช้เป็นตัวสะกดในคำที่อยู่ท้ายคำ เช่น ปรากฏ ปรากฏว่า ปรากฏการณ์ กบฏ  ปรากฏ [ปฺรากด] ก. สำแดงออกมาให้เห็น. (ส. ปฺรกฏ; ป. ปากฏ) ลูกคำของ “ปรากฏ” คือ  ปรากฏการณ์

คลังคำ ขุมทรัพย์นักเขียน

ถ้าคลังสินค้า คือ สถานที่เก็บสินค้าจำนวนมากของพ่อค้าวานิช พ่อค้าวานิชเก็บตุนสินค้าไว้เพื่อขายสินค้าทำกำไรแล้ว คลังคำ คือ สถานที่เก็บคำจำนวนมากของนักเขียน นักเขียนที่มีคลังคำจำนวนมากย่อมเรียงร้อยถ้อยคำได้กระชับ จับใจ เข้าใจง่าย พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับล่าสุด พ. ศ. 2554 เป็นแหล่งที่นักเขียนควรศึกษาและเก็บรวบรวมคำไว้ใช้ในคลังคำของตนเอง ซึ่งเราเข้าถึงพจนานุกรมไทย ฉบับออนไลน์ได้ และใช้งานพจนานุกรมไทยได้ง่ายกว่าสมัยก่อนมากกกกก http://www.royin.go.th/dictionary/index.php การค้นหาคำศัพท์ในพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ. 2554 วันก่อนสอนนักศึกษา เรื่อง การสื่อสารในองค์กร : การใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร ควรเลือกใช้คำศัพท์ในสื่อสารอย่างเหมาะสมกับบุคคล โอกาส และสถานที่ อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องระวัง คือ การสะกดคำ ยามที่ต้องสื่อสารด้วยการเขียนในโอกาสต่าง ๆ เช่น เขียนโน้ตสั้น ๆ เขียนรายงานการประชุม เขียนรายงานการทำงาน เขียนข่าวประชาสัมพันธ์งานขององค์กร ฯลฯ ถ้อยคำที่สื่อสารออกไป เป็นภาพลักษณ์ขององค์กร ถ้อยคำที่สละสลวยงดงาม ความหมายคำเป็นบวก สะกดคำถูกต้อง สร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร ถ้าถ้อยคำที่สื่อสารออกไปไม่สละสลวย ความหมายคำเป็นลบ สะกดคำผิด…

จงเขียนเพราะอยากเขียน คุณค่าจะปรากฏตามสไตล์ของคุณ

Your book your style. นักเขียนอินดี้ นอกจากเขียนตามใจที่อยากเขียนแล้ว สิ่งที่ควรมี คือ คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ เพื่อสร้างสรรค์บรรยากาศการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น จงซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น เขียนในสิ่งที่เรารู้ลึกรู้จริง ถ้าเขียนจากความรู้ภายในตัวเรา ไม่ต้องอ้างอิงทฤษฎีใด ๆ ถ้าเขียนจากประสบการณ์ทำงานของเราเอง ไม่ต้องอ้างอิงก็ได้ เขียนเล่าเรื่องที่เรารู้ เล่าเรื่องที่เราทำไปเลย เขียนด้วยถ้อยคำสำนวนของเราเอง ร้อยเรียงถ้อยคำตามสไตล์ของเราเอง ไม่ต้องกังวลใด ๆ ไม่ต้องเลียนแบบใคร เป็นตัวเองที่มั่นใจ จงให้เกียรติผู้อื่น แล้วผู้อื่นจะให้เกียรติเราเช่นกัน ถ้านำข้อความ แนวคิด หรือสรุปย่อเนื้อหามาสั้น ๆ จากที่อื่น นำรูปภาพ กราฟ ตาราง มาจากที่อื่น โปรดอ้างอิงที่มาทั้งอ้างอิงในเนื้อหาและบรรณานุกรม หรือ Reference ที่ท้ายบทหรือท้ายเล่ม การระบุที่มานั้นเป็นการให้เกียรติผู้อื่น เป็นการเพิ่มน้ำหนักในเนื้อหา ให้ดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ดูเป็นมืออาชีพ เพราะทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่ได้เรียนรู้เรื่องนี้จากในห้องเรียน จากละคร เช่น ละครเรื่อง เด็กใหม่ เนื้อหาสอดแทรกเรื่อง plagiarism…

วิธีการเขียนหนังสือและ eBook ตามสไตล์ของนักเขียนอินดี้ Self-Publishing

1 Why ทำไมถึงเขียนหนังสือเล่มนี้ คนอ่านได้ประโยชน์อะไรจากหนังสือเล่มนี้ เคลียร์ให้ชัด 2 Writing เขียนคำนำ สารบัญเนื้อหา วางโครงเรื่องให้ชัดเจน กำหนดขอบเขต จะได้ไม่หลงทางไปไกลจนหาที่จบไม่ได้ ไม่ออกทะเล ไม่เวิ่นเว้อ 3 Feedback เขียนจบให้เพื่อนหรือคนสนิทอ่าน จะได้รู้ว่าคนอ่านเข้าใจในเนื้อหาที่เราต้องการสื่อสารมั้ย เนื้อหาตกหล่นไปบ้างมั้ย จะต้องเพิ่มเติมอะไรให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 4 Title เลือกชื่อเรื่อง ช่วยกันคิด ระดมสมอง ลองตั้งชื่อไว้หลาย ๆ ชื่อ ดูว่าชื่อไปไหนเข้าท่าที่สุด ตอนที่ตั้งชื่อหนังสือของผู้เขียน คิดชื่อหนังสือกันนานมาก เขียนต้นฉบับไปเกือบจบแล้ว ยังไม่ได้ชื่อหนังสือ คิดกันไปสารพัดชื่อ เช่น “ขายของออนไลน์ เริ่มจาก 0” “ขายของออนไลน์ ไม่มีทุน” “ขายของออนไลน์ ใช้ทุนน้อย” สุดท้ายเพื่อนถามว่า ถ้าไม่มีเงินเลยสักบาท เริ่มทำได้มั้ย เราบอกว่า ได้สิ ไม่มีเงินสักบาทก็ทำได้ ถ้าใจสู้ อึด ถึก สตรอง อดทน หลับหูหลับตาทำจริง ๆ…

เรื่องราวของคุณ คือ สินค้า

บางคนคิดว่า สินค้า คือ สิ่งที่จับต้องได้เท่านั้น เช่น สร้อย แหวน บ้าน รถยนต์ ความจริงแล้ว ยังมีสินค้าอีกประเภทหนึ่ง คือ สินค้าที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความรู้ ประสบการณ์ จินตนาการ นับเป็นสินค้ายอดนิยมทีเดียว หากเรารู้วิธีการคัดกรอง ความรู้ ประสบการณ์ และจินตนาการ นำมาบรรจุในแพ็คเกจให้สวยงาม น่าซื้อแล้วละก็ ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเชียวละ ดังนั้นเรื่องราวของคุณ ทั้งด้านดีทั้งด้านร้าย นำมาเขียนหรือเล่าเรื่องเป็นพ็อกเก็ตบุ๊ค นิยาย คลิปวิดีโอ Podcast, Audio book, eBook, Magazine อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างก็ได้ ตัวอย่างเช่น ในต่างประเทศ มีเด็กคนหนึ่งถ่ายทอดสดช่วงเวลากินอาหารเย็น เพราะเขาเหงาที่ต้องกินอาหารคนเดียว การถ่ายสดทำให้มีเพื่อนคุยระหว่างกินอาหาร กลายเป็นว่ามีคนติดตามเด็กคนนี้เป็นล้าน อีกตัวอย่างหนึ่ง การรีแอคชั่นการดูละคร ดูคอนเสิร์ต ดูคลิปตลก ยังได้รับความนิยม ผู้คนอยากรู้ว่าคนอื่นคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างไร คิดเหมือนเรามั้ย ดังนั้นเรื่องราวของคุณจะเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนอื่น ๆ มีกำลังใจต่อสู้ชีวิตต่อไป หรือค้นพบทางออกจากปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ แม้คุณไม่ใช่คนดัง…

7 เหตุผลควรทำหนังสือ Self – Publishing พิมพ์เองขายเอง

Good company in a journey makes the way seem shorter. — Izaak Walton นักเขียนอินดี้ที่เขียนเรื่องเฉพาะทาง หัวข้อเล็ก ๆ ที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ โอกาสทำกำไรไม่มากนัก ยอดขายไม่เยอะ ยอดขายหลักสิบหรือหลักร้อย ซึ่งนับว่าน้อยมาก ๆ แต่มีใจรักอยากทำตามใจตัวเอง การทำหนังสือแบบ Self – Publishing จึงเป็นทางเลือกที่ดี ไม่เสี่ยงต่อการขาดทุนมหาศาลบานตะไท มาดูกันว่า เหตุผลดี 7 ข้อ มีอะไรบ้าง 1 ควบคุมเวลาได้ เมื่อนักเขียนทำต้นฉบับหนังสือเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ ตรวจปรู๊ฟต้นฉบับจนพอใจแล้ว ออกแบบรูปเล่มสวยงาม ทำปกสวยชิคดังใจ สั่งพิมพ์หนังสือได้ทันทีภายใน 1 – 2 สัปดาห์ ไม่ต้องรอคิวนาน ๆ 3 เดือน 6 เดือน หรือรอนานเป็นปี ๆ รอเก้อแล้วเก้ออีกเป็นแม่สายบัว 2…